
เตือนภัย โจรแนวใหม่ มิจฉาชีพที่มาแบบเนียนๆ โดยตัวผู้โดนดูดเงิน ได้รับ รหัส SMSOTP มาจากไหนไม่รู้ หลังจากนั้นก็มีข้อความเตือนจากธนาคารว่าเงินถูกโอนไปยังต่างบัญชี ซึ่งไม่ใช่บัญชีธนาคารในประเทศไทยอีกด้วย หลังจากโดนการกระทำดังกล่าว เหยื่อก็ได้เข้าแจ้งความกับตำรวจ และ ติดต่อธนาคารทันที โดยธนาคารให้เหตุผลว่าเงินถูกโอนไปยังบัญชีปลายทางที่ต่างประเทศ จะสามารถตามได้หรือไม่ ยังไม่รู้
ดังนั้นวันนี้พวกเราจะมาแนะนำ 5 จุดสังเกต 4 วิธีป้องกัน โจรออนไลน์ที่มาในแนวของ SMS OTP กันว่าผู้รับจะสามารถป้องกันตัวเองได้อย่างไร เพื่อไม่ให้เป็นแบบในข่าว เพราะว่าในปัจจุบันจากรายงานของนักข่าวและตำรวจ ปัจจุบันมีการส่งข้อความให้กดเข้าไปยังลิงก์และดูดเงินออกไปจากบัญชีรวมค่าเสียหายกันมากกว่า 200 ล้านบาท โดยพวกเรา GodySMS ได้นำเอา 5 จุดสังเกต และ 4 วิธีป้องกัน นั้นเป็นสิ่งที่นำมาจากการประชาสัมพันธ์ของ คณะทำงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันต้านภัยอาชญากรรมทางเทคโนโลยี
เจ้าหน้าที่ตำรวจ และ คณะทำงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันต้านภัยอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ได้จับ มิจฉาชีพแก็งคอลเซ็นเตอร์ ทำการหลอกลวงทุกรูปแบบ ทั้งออนไลน์ และการ ส่งข้อความสั้น (SMS) ส่งข้อความหลายรูปแบบให้กับเหยื่อ SMSOTP มาจากไหนไม่รู้ เข้ามาทางมือถือ จากการจับกุมและขยายผลเพิ่มเติม มีการหลอกลวงหลายแบบทั้งปลอมเป็นธนาคาร , สถาบันการเงิน หรือ หน่วยงานราชการ
อีกทั้งยังใช้วิธีแนบลิงก์ดูดเงิน ที่สามารถขโมยข้อมูลส่วนตัวผ่านลิงก์ให้เหยื่อกดอีกด้วย หรือใช้ลิงก์ที่แฝงแอปพลิเคชันสำหรับควบคุมเครื่องมือถือขึ้นมา และ หลังจากนั้นก็เข้า App Mobile Banking เหยื่อเพื่อกดโอนเงินเข้าไปยังบัญชีอื่นเองเลยก็สามารถทำได้ด้วย โดยในปัจจุบันคดีเกี่ยวกับ มิจฉาชีพ แนวนี้มีผู้เสียหายหลายคน ยอดรวมกว่า 200 ล้านบาท โดย 5 อันดับ ที่ในปัจจุบันมีการแจ้งความเข้ามายังตำรวจมากที่สุดมีดังนี้
1. คดีหลอกลวงซื้อขายสินค้า และ บริการต่างๆ
2. คดีหลอกลวงให้โอนเงิน เพื่อการทำงานหรือหารายได้พิเศษ
3. คดีหลอกลวงให้กู้เงิน โดยที่ต้องโอนเงินเข้าไปก่อน
4. คดีข่มขู่ ผ่านทางโทรศัพท์ ให้เกิดความกลัว โอนเงินชำระค่าต่างๆ อาจปลอมเป็นหน่วยงานราชการ ตำรวจ หรือ ศาล เพื่อให้โอนเงินค่าปรับต่างๆ นาๆ
5. คดีได้รับ SMSOTP มาจากไหนไม่รู้ ไม่ทราบต้นทางไม่ได้ทำรายการ หรือ เป็น SMS แบบอื่น แต่มักแนบลิงก์ที่กดเข้าไปแล้วสามารถโดนดูดเงินได้ หรือ ถูกควบคุมมือถือจากระยะไกล และ เข้าไปกดโอนเงินใน แอป ธนาคารที่มีในมือถือ
สำหรับ มิจฉาชีพ อาจทำให้คนทำงานจริงๆ มีความยากลำบากในการทำงานพอสมควร เพราะโดนสงสัยและตั้งแง่เอาไว้ก่อนนั้นเอง แต่ว่า วันนี้พวกเรา Godysms ได้นำเอาข้อมูลจากตำรวจไซเบอร์ มาให้ทุกท่านรู้วิธีสังเกตกัน 5 วิธี ดังนี้
1. มิจฉาชีพที่ใช้วิธี ส่งข้อความสั้น (SMS) มีหลายแบบทั้งข้อความแนะนำ ข้อความเกี่ยวกับส่วนราชการ หรือ รหัสยืนยันที่ได้มาแบบ SMSOTP มาจากไหนไม่รู้ โดยส่วนมากจะมีการแนบลิงก์เพื่อส่งต่อไปยังไลน์ที่อ้างตนเป็นเจ้าหน้าที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น สถาบันการเงิน ธนาคาร เป็นต้น อาจทำการขอรหัส หรือ ข้อมูลส่วนตัวเรา หรือทำการข่มขู่ทุกแบบ
2. มิจฉาชีพส่งข้อความสั้น SMS มาหลายแนว โดยแนบลิงก์ ที่หากกดเข้าไปจะนำไปยังแอปที่สามารถควบคุมมือถือได้ มีคนโดน SMS แบบนี้ดูดเงินหลายคนแล้วนั้นเอง โดยส่วนมากมาจากที่ SMSOTP มาจากไหนไม่รู้ และมีการแนบลิงก์ประกอบมาพร้อม พิมพ์ประกอบข้อความไว้ว่า หากคุณๆ ไม่ได้ทำรายการ กรุณาคลิกลิงก์นี้เพื่อแจ้ง
3. การสังเกตมิจฉาชีพ มีอีกรูปแบบหนึ่งคือ พนักงานธนาคาร จะไม่ใช้ไลน์ส่วนตัวในการติดต่อหาลูกค้า หากมีการติดต่อแบบส่วนตัวแบบนั้นให้ประเมินไว้ก่อนว่าเป็นมิจฉาชีพ
4. เว็บไซต์ปลอมที่หากได้ลิงก์ไป จะสามารถโหลดเข้ามาติดตั้งได้เท่านั้น ไม่สามารถกดเมนูอื่นๆเข้าไปได้
5. ธนาคารไม่มีนโยบายส่งข้อความ และ แนบลิงก์ให้กดต่อไปทุกชนิด ดังนั้นหากมีลิงก์แนบมาอาจคิดได้เลยว่าเป็นมิจฉาชีพ
1. ไม่เปิดอ่านข้อความ ที่ไม่รู้ที่มา ไม่โหลดหรือติดตั้งแอปที่โดนหลอกให้ติด
2. กรณีได้รับ SMSOTP มาจากไหนไม่รู้ ควรโทรตรวจสอบกับหน่วยงานนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็น ธนาคาร หรือ สถาบันการเงินก็ตาม
3. หากต้องการติดตั้งแอปลงมือถือ ควรใช้การติดตั้งผ่าน Play Store , App Store เท่านั้น ไม่ติดตั้งแอปจากลิงก์ต่างๆ
4. มิจฉาชีพ อาจใช้วิธีเกลี่ยกล่อม และ ติดต่อทาง Chat ได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นไม่ควรคุยกับคนไม่รู้จักที่ไม่รู้วัตถุประสงค์
อัพเดทข่าวสารและบทความต่างๆ เกี่ยวกับ "GODYSMS"
เพื่อให้ท่านรับรู้ทุกความเคลื่อนไหวของเรา
การสื่อสารกับลูกค้าเป็นหัวใจของทุกธุรกิจ โดยเฉพาะในยุคที่การแข่งขันสูงและความรวด...
อ่านเพิ่มเติมเคยไหม… อยู่ดีๆ ก็มีโฆษณาเด้งขึ้นมาบนหน้าจอมือถือ ทั้งที่คุณไม่ได้เปิดแอปอะไรเลย...
อ่านเพิ่มเติมในยุคที่การขายของออนไลน์กลายเป็นช่องทางหลักของพ่อค้าแม่ค้า การแข่งขันก็ยิ่งสูงตา...
อ่านเพิ่มเติม